วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก


วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้าฯ กรมแพทย์ทหารบก และเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล


ประวัติ

ช่วงหลังยุคสงครามโลครั้งที่ 2 กองทัพบและประเทศชาติ ขาดบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้บริการสุขภาพแก่ทหาร และประชาชน จึงได้ก่อตั้ง "โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยกองทัพบก" เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2506 เพื่อผลิตพยาบาลวิชาชีพกองทัพบก โดยให้เป็นหน่วยงานในสังกัดของโรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก และได้เปิดรับนักเรียนพยาบาลเป็นรุ่นแรกในหลักสูตรประกาศนียบัตร เมื่อปี พ.ศ. 2507 จำนวน 37 นาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองนักเรียนพยาบาล" ในกรมนักเรียน รร.เสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก และ พ.ศ. 2527 ได้รับการยกวิทยาฐานะเป็น "วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก" ขึ้นตรงต่อศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้าฯ กรมแพทย์ทหารบก ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร จะได้การแต่งตั้งยศเป็น "ว่าที่ร้อยตรีหญิง" และปี พ.ศ. 2528 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ได้เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาเปิดหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล อีกหนึ่งหลักสูตร โดยเป็นหลักสูตรเฉพาะกาล ผู้สำเร็จตามหลักสูตรนี้จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น "สิบตรีหญิง"


หลักสูตร

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย เทียบเท่าอนุปริญญา(3 ปี 6 เดือน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 บรรจุและได้รับการประดับยศเป็นว่าที่ร้อยตรีหญิง 
  • หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (4 ปี) โดยเป็นสถาบันสมทบกับมหาวิทยาลัยมหิดลและเมื่อเรียนจบแล้วสามารถมีสิทธิขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ และว่าที่ร้อยตรีหญิง
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (1 ปี)

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พยาบาล-Nurse

นิยามอาชีพ

 ผู้ปฏิบัติพยาบาล-Nurse ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาล และดูแลผู้ป่วยทั้งทางกายและจิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือทุพพลภาพ รักษาและป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ วางแผนและให้บริการด้านพยาบาล และทำหน้าที่ช่วยแพทย์ ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล

ลักษณะของงานที่ทำ

 รักษา ดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพยาบาล เป็นผู้ช่วยแพทย์ โดยการสังเกต และบันทึกความเปลี่ยนแปลงในคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการของคนไข้ตามลักษณะโรคที่เป็นทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของคนไข้ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใดๆ ที่อาจเกิด จากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้ มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้ และประชาชนทั่วไปให้รู้จักการดูแลและส่งเสริมสุขภาพวางแผน มอบหมาย สั่งการ ดูแล และประเมินผลงานของผู้ช่วยพยาบาล และผู้ทำหน้าที่ประสานงาน ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ และอนามัยแขนงอื่นๆ ในการบริการคนไข้

สภาพการจ้างงาน

 สำหรับหน่วยงานราชการพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับเงินเดือนอัตรา 6,360 บาท ส่วนพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทได้รับเงินเดือนอัตรา 7,780 บาท และปริญญาเอกได้รับเงินเดือนอัตรา 10,600 บาท
ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนประมาณ 7,000 -7,600 บาท
สำหรับหน่วยงานเอกชน พยาบาลที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนขั้นต้นประมาณ 13,900 บาท ค่าอยู่เวร เวรละ 250 บาท ซึ่งจะมีรายได้เฉลี่ยจากค่าอยู่เวรประมาณเดือนละ 2,500 - 3,000 บาท ซึ่งพยาบาลเอกชนจะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 16,000 บาทมีสวัสดิการที่พักและสิทธิพิเศษ อื่นๆ ตามเงื่อนไขการตกลงกับผู้ว่าจ้าง
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพพยาบาลโดยปกติทำงานวันละ 8 - 9 ชั่วโมง และมีการเข้าเวรทำงานตามที่กำหนดเป็นระเบียบปฏิบัติ นอกจากนี้ พยาบาลที่ออกเวรแล้วสามารถหารายได้พิเศษในการรับจ้างเฝ้าไข้ ให้กับคนไข้อีกด้วย

สภาพการทำงาน

 ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน สถานพยาบาล(คลีนิค) สถานพักฟื้น สถานฟื้นฟู ดูแลรักษาสุขภาพ สถานสงเคราะห์ เด็ก หรือคนชรา สถานอนุบาลเด็กทารกหรือเด็กก่อนวัยเรียน สถานการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย สถานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สถานีอนามัย/คลีนิคในชุมชนพยาบาลประจำบ้าน หรือส่วนบุคคล เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

 ผู้ประกอบพยาบาล-Nurse ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. สำเร็จการศึกษา พยาบาลศาสตร์ต่อเนื่อง หรือพยาบาลศาสตร์
2. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค (อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน)
3. มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4. มีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าในการตัดสินใจ
5. มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
6. มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ
ผู้ที่จะประกอบพยาบาล-Nurse ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้: เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น จะต้องเลือกเรียน/ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทยาศาสตร์) จากนั้นจึงจะทำการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาพยาบาลของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งนี้การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะต้องมีผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ เคมีชีววิทยา ค่อนข้างดีด้วย

โอกาสในการมีงานทำ

 ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากรมากกว่า 62 ล้านคน ความต้องการพยาบาลเพื่อทำการรักษาพยาบาลต้องเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากรประกอบกับรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสนใจในสุขภาพของประชาชนทุกเพศทุกวัยได้พยายามขยายบริการออกไปให้ทั่วถึง จึงจำเป็นต้องใช้พยาบาลในการปฏิบัติงานเป็นจำนวนมาก อีกทั้งโรงพยาบาลและสถานพยาบาลของภาคเอกชนได้ขยายตัว มากขึ้น เพื่อบริการประชาชน และหน่วยงานอื่นๆ เช่น สถานประกอบการอุตสาหกรรม สำนักงานประกันภัย บริษัทขายยาและเคมีภัณฑ์ บริษัทขายเครื่องมือแพทย์ ต้องการพยาบาลไปดูแลรักษาพยาบาล หรือให้ คำปรึกษาแนะนำด้านสุขภาพอนามัยแก่พนักงานในสถานประกอบการ หรือให้คำปรึกษาแนะนำ ในการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพพยาบาลสามารถไปประกอบวิชาชีพส่วนตัวได้ เช่น เปิดสถานดูแลเด็กอ่อน เด็กเล็กก่อนวัยเรียนผู้สูงอายุ หรือรับจ้างปฏิบัติงานเลี้ยงเด็กหรือดูแล ผู้สูงอายุ เป็นต้น ดังนั้น แนวโน้มของโอกาสในการมีงานทำของพยาบาล-Nurse ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง จึงสามารถหางานทำได้ ไม่ยากนัก

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

 ผู้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นข้าราชการ ในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และในสังกัดกระทรวงกลาโหม ได้รับตำแหน่ง และเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้ เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วขึ้นและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ ในรัฐวิสาหกิจก็เช่นเดียวกัน ส่วนในโรงพยาบาลภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรหรือสามารถทำธุรกิจส่วนตัวได้ คือเป็นเจ้าของสถานพยาบาล สถานดูแลเด็กอ่อน เด็กก่อนวัยเรียน และผู้สูงอายุ หรือศึกษาต่อเพิ่มเติมจนถึงระดับปริญญาเอก

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง

 ธุรกิจประกันชีวิต นักวิจัยให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น International HIV/AIDS Research Project เจ้าหน้าที่พยาบาลหรือที่ปรึกษาในองค์การระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชน หรือเป็นเจ้าหน้าที่แนะนำ Product Specialist ให้บริษัทขายยา และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ

 สาธารณสุขจังหวัดตามภูมิลำเนา โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนีทั่วประเทศ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยพยาบาลพระมงกุฎฯ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศวิทยาลัยพยาบาลทหารเรือ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ตลอดจนโรงพยาบาลสังกัด กทม.(วชิรพยาบาล) และวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณ นอกจากนั้นยังมีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย คณะพยาบาลศาตร์(วิทยาเขตหาดใหญ่) สำหรับโรงพยาบาลเอกชนที่มีวิทยาลัยพยาบาล เช่น โรงพยาบาลหัวเฉียว โรงพยาบาลมิชชั่น ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วต้องการทำงาน สามารถค้นหาข้อมูลได้จากหน่วยงานที่ตนศึกษาอยู่ สาธารณสุขจังหวัดสำนักงานจัดหางานจังหวัด เว็บไซต์เอกชนต่างๆหนังสือพิมพ์ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

เตรียมพร้อม! เรียนพยาบาลทหารอากาศ เรียนฟรี มีเงินเดือนให้


พยาบาลทหารอากาศ

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรืออยู่ในระหว่างรอผลการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว โดยต้องศึกษารายวิชาครบตามเกณฑ์ที่กำหนด
2.เป็นสตรีโสดอายุระหว่าง 17 – 22 ปี
3.มีสัญชาติไทย บิดามารดามีสัญชาติไทยโดยกำเนิด เว้นแต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทย โดยกำเนิดอยู่แล้วมารดาจะไม่มีสัญชาติไทย โดยกำเนิดก็ได้
4.มีสุขภาพสมบูรณ์ รูปร่างลักษณะท่าทางและขนาดของร่างกายเหมาะสมต่อการให้บริการ น้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 40 กก. แต่ไม่เกิน 65 กก. ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 155 ซม.
5.มีความประพฤติดี ไม่ผิดกฎหมาย ไม่บกพร่องทางศีลธรรม
6.ไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน

การคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ
1.คะแนนวิชาการ คิดจากคะแนนรวม GPAX, (5 เทอม) O-NET (รหัส 01-06) GAT,PAT (P2) กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้จะต้องมีคะแนน O-NET ภาษาอังกฤษ (รหัส 03) ไม่ต่ำกว่า 30 คะแนน
2.ผู้ทีผ่านการคัดเลือกคะแนนวิชาการจะได้รับการตรวจร่างกาย การสอบสัมภาษณ์ และทดสอบพิเศษ

การรับสมัคร

ช่วงต้นเดือน มกราคม ถึงปลายเดือน มีนาคม

สิทธิที่ได้รับระหว่างการศึกษา และเมื่อสำเร็จการศึกษา

- นักเรียนทุนกองทัพอากาศ
1.ศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร
2.ได้รับเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนดังนี้ เบี้ยเลี้ยงวันละ 106 บาท ทุกชั้นปี และเงินเดือน ชั้นปีที่หนึ่ง 2,920 บาท ชั้นปีที่สอง 3,110 บาท ชั้นปีที่สาม 3,300 บาท ชั้นปีที่สี่ 3,490 บาท
3.เครื่องแต่งกาย ที่พัก การรักษาพยาบาลและสิทธิอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด
4.มีสิทธิได้รับการพิจารณาขอรับทุนการศึกษาจากองค์กร กองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และมูลนิธิต่างๆ
5.เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับพระราชทานยศเป็น นายทหารสัญญาบัตร ยศเรืออากาศตรี และบรรจุเข้ารับราชการในกองทัพอากาศตามข้อผูกพันและสัญญาที่ทำไว้กับกองทัพอากาศ

- นักเรียนทุนส่วนตัว
1.ได้รับสวัสดิการตามที่วิทยาลัยกำหนด
2.มีสิทธิได้รับการพิจารณาขอรับทุนการศึกษาจากองค์กร กองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และมูลนิธิต่างๆ
3.ได้รับการตรวจสอบภาพร่างกายประจำปี
4.เมื่อสำเร็จการศึกษาไม่มีข้อผู้พันกองกองทัพอากาศ

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก


ประวัติความเป็นมา

                วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก เดิมชื่อ “โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยกองทัพบก” ได้อนุมัติก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๖ โดยผู้บัญชาการทหารบก ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตพยาบาลวิชาชีพให้แก่กองทัพบก และเป็นการ แก้ปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาลของประเทศ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ดังนั้น วันที่ ๑๙ สิงหาคมของทุกปี จึงถือเป็นวันสถาปนาวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

                วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ทำหน้าที่ผลิตพยาบาลให้กับหน่วยงานกองทัพบก และประเทศชาติโดยเน้นคุณภาพบัณฑิตพยาบาลที่ผลิตออกมา ในฐานะโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์ และอนามัยกองทัพบก ได้ผลิตพยาบาลวิชาชีพที่มีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่องโดยลำดับ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๗ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๗ และใน พ.ศ.๒๕๒๗ ได้ยกฐานะเป็น “วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก (วพบ.)” ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้รับอนุมัติให้เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามประกาศ ของทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๙ ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ของวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ได้รับปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) จากมหาวิทยาลัยมหิดล






นักเรียนพยาบาลทหารเรือ

วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ
ให้การศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ระดับปริญญาตรี ระยะเวลาศึกษา ๔ ปี)




สิทธิที่ได้รับ
ระหว่างการศึกษาได้รับเครื่องแบบนักเรียนพยาบาลศาสตร์ ตามที่กองทัพเรือกำหนด เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) จากมหาวิทยาลัยมหิดล
การรับสมัครและสอบคัดเลือกนักเรียนพยาบาลทหารเรือ
จำหน่ายระเบียบการรับสมัครเดือนธันวาคมของทุกปีทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้สมัครจะต้องแสดงหลักฐานคะแนนวิชาการกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และจะต้องทดสอบสุข ภาพจิต สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ


คุณสมบัติที่สำคัญของผู้สมัคร
๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์) หรือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ (ม.๖)
๒. เป็นสตรีโสด อายุ ๑๗-๒๐ ปี โดยบิดามารดาและผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด
๓. มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า ๑๕๕ เซนติเมตร น้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า ๔๒ กิโลกรัม และไม่เกิน ๖๕ กิโลกรัม

การรับสมัคร นักเรียนพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ

คุณสมบัติผู้สมัคร
- กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิต
- เป็นสตรีโสด อายุ 17—20 ปี
- มีสัญชาติไทย บิดาและมารดาผู้ให้กำเนิดต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
- สุขภาพแข็งแรง เหมาะสมต่อการรับราชการทหารและการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- น้ำหนักไม่น้อยกว่า 42 กก. แต่ไม่เกิน 65 กก.
- ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 155 ซม. BMI ไม่เกิน 25 กก./มม2
- ไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา


การรับสมัคร
- จำนวนนักเรียนที่รับต่อปี 60 คน เป็นทุนส่วนตัว
- คะแนนที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือก ประกอบด้วย GPAX, O-NET, GAT, PAT, เป็นไปตามเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา (Admissions) สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ การทดสอบสุขภาพจิต การสอบสัมภาษณ์ และการตรวจสุขภาพ
- รับสมัครทางอินเตอร์เนต เท่านั้นที่ http://jobrtncn.ac.th, www.rtncn.ac.th, www.navy.mi.th และ www.nmd.go.th

เริ่มรับสมัครประมาณเดือน ธันวาคม






หลักสูตรและการจัดการศึกษา
- โครงสร้างของหลักสูตร มีจำนวนทั้งสิ้น 145 หน่วยกิต ประกอบด้วย 4 หมวดวิชา
หมวดวิขาศึกษาทั่วไป จำนวน 31 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 104 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาทหาร จำนวน 4 หน่วยกิต
-› ระยะการศึกษา 4 ปี แต่ละปีการศึกษา แบ่งเป็น ภาคการศึกษาปกติ 2 ภาค ภาคละ 16 สัปดาห์ และ ภาคการศึกษาฤดูร้อน 8 สัปดาห์
- วิธีการศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาในภาคทฤษฎี / ภาคทดลอง ทั้งในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่างๆ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

สิทธิประโยชน์ที่ได้ร้บขณะเป็นนักเรียนพยาบาล
- ได้รับยุทธอาภรณ์ (เครื่องแบบ) ตามที่กองทัพเรือกำหนด
- ได้รับทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่เรียนดีหรือขาดแคลนทุนทรัพย์ จากกองทุนที่สถาบันได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐ และเอกชน


การสำเร็จการศึกษา
1. มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 ภาคการศึกษาปกติ และไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
2. สอบได้จำนวนหน่วยกิตครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
3. ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.00
4. มีความประพฤติดีเหมาะสมกับปริญญาที่ได้รับ
5. สอบผ่านการสอบรวบยอดสาขาพยาบาลศาสตร์ตามเกณฑ์ที่กำหนด


เมื่อสำเร็จการศึกษา
- ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมหิดล
- มีสิทธิ์สอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจากสภาการพยาบาล
- สามารถปฏิบัติในโรงพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือและโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อยากเรียน พยาบาลทหาร ต้องเตรียมตัวอย่างไร !!



                     น้องๆหลายคนที่ฝันอยากเป็นพยาบาลทหาร แต่ไม่รู้จะต้องทำอย่างไรเตรียมตัวอย่างไร  UniGang เลยขอจัดทำบทความแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะสอบเข้า พยาบาลได้  โดยพยาบาลทหารบก,ทหารอากาศ,ทหารเรือ นั้นใช้เกณฑ์คัดเลือกคล้ายๆกัน

คุณสมบัติผู้สมัคร

- กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิต
- เป็นสตรีโสด อายุ 17—25 ปี
- มีสัญชาติไทย บิดาและมารดาผู้ให้กำเนิดต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
- สุขภาพแข็งแรง เหมาะสมต่อการรับราชการทหารและการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- น้ำหนักไม่น้อยกว่า 42 กก. แต่ไม่เกิน 65 กก.
- ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 155 ซม. BMI ไม่เกิน 25 กก./มม2
- ไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา


จำนวนรับสมัครของแต่ละกองทัพ
- จำนวนนักเรียนที่รับต่อปี 60 คน เป็นทุนส่วนตัว
- จำนวนนักเรียนที่รับต่อปี 20 คน เป็นทุนกองทัพ
ช่วงรับสมัคร  มกราคม ถึงเดือน มีนาคม ของที่ปี
เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก  GAT  PAT2  ONET
จากข้อมูลรุ่นพี่ๆปีก่อนๆ เอาแบบติดชิวๆ
GAT  230    คะแนน
PAT2  120  คะแนน
O-NET  อังกฤษ น้องๆต้องทำให้ไม่ตำกว่า 30 คะแนนด้วยนะครับ
เรื่องเกณฑ์คัดเลือกแต่ละปีคะแนนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นกับความยากง่ายของข้อสอบด้วย

จากปีล่าสุดใช้คะแนน GAT-PAT ได้แค่รอบแรกนะครับ เพราะประกาศผลมันประกาศก่อนผล GAT-PAT รอบ 2 ออกอีก อันนี้ยังไม่ฟันธงนะครับเพราะระเบียบการปีนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงก็ได้ 

ไม่มีทดสอบร่างกายนะครับ มีแค่ตรวจสุขภาพ และการทดสอบสุขภาพจิต